เศษกากจากการสกัดสมุนไพร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้หรือไม่

เศษกากจากการสกัดสมุนไพร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้หรือไม่

หลายคนอาจสงสัย หรือตั้งคำถามเมื่อได้เห็นวิธีการสกัดสมุนไพร ว่าเศษหรือกากสมุนไพรที่เหลือหลังจากสกัด สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง วันนี้เรามีคำตอบคลายความสงสัยมาให้แล้วค่ะ เศษกากจากการสกัดสมุนไพร กากหรือเศษสมุนไพรที่เหลือจากการสกัดนั้นยังเหลือสารอาหาร ซึ่งสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้โดยแบ่งออกดังนี้ นําไปเป็นวัตถุดิบในการทําอาหารสัตว์ได้ แต่ไม่ใช่สมุนไพรทุกตัวที่จะใช้ได้ เพราะต้องเป็นตัวที่มีผลเกี่ยวกับสัตว์เท่านั้น เช่น มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือควบคุมโรคในสัตว์ได้ เป็นต้น สามารถนําไปทําปุ๋ยเพื่อบํารุงพืชได้ เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดมีแร่ธาตุที่เป็นแหล่งอาหารสําคัญของพืชได้ กากสมุนไพรบางชนิดสามารถไล่แมลง ศัตรูพืชได้เนื่องจากมีกลิ่นหอม เช่น กากชา กากสมุนไพรบางชนิดสามารถนํามาดูแลรักษาผิวพรรณได้เช่นกากกาแฟ ที่เรียกว่าสครับขัดผิวจากกากกาแฟ หรือสบู่จากกากกาแฟ และนี่ก็คือสาระความที่ NAP ได้รวบรวมมาฝาก หากเพื่อนๆ ชอบความรู้รอบตัวแบบนี้ อย่าลืมกดติดตามและช่วยกันแชร์แบ่งปันให้คนรอบข้างกันด้วยนะคะ

ทำไมสมุนไพรบางชนิดต้องใช้แอลกอฮอล์ในสกัด ?

เมื่อได้ยินคำว่า “ใช้แอลกอฮอล์” สกัดสมุนไพร ก็อาจทำให้หลายๆ คนเกิดข้อสงสัยว่าทำไมต้องใช้แอลกอฮอล์ในการสกัดสมุนไพรด้วย..? วันนี้ เราหาคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ สารสําคัญในพืชสมุนไพร เป็นสารประกอบที่บ่งบอกความเฉพาะตัวของสมุนไพรซึ่งสารแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันโดยละลายได้ในตัวทําละลายที่ต่างกัน บางชนิดอาจจะละลายได้ในตัวทําละลายเพียงอย่างเดียว  หรือบางชนิดละลายได้ในตัวทําละลายหลายชนิด ซึ่งสารบางชนิดมีขั้วจึงสามารถละลายน้ำได้ สารบางชนิดเป็นสารกึ่งมีขั้วจึงสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และสารบางชนิดเป็นสารไม่มีขั้วทําให้ไม่สามารถละลายน้ำได้แต่ละลายได้ดีในตัวทําละลายสารอินทรีย์ ดังนั้นในการสกัดสารเราจะต้องทราบว่าสารนั้นมีคุณสมบัติอย่างไรเพื่อที่จะได้เลือกวิธีและตัวทําละลายที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อจะใช้ในการสกัดต่อไปนั้นเอง   ยกตัวอย่าง – ในขิงจะมีทั้งสารที่มีสีและสารที่มีกลิ่น โดยสารที่มีสีจะละลายในแอลกอฮอล์ได้ดีกว่าในน้ำ แต่สารที่มีกลิ่นจะละลายในน้ำได้ดีกว่าในแอลกอฮอล์ ดังนั้นถ้าจะแยกสารที่มีสีออกจากขิงควรเลือกแอลกอฮอล์เป็นตัวทําละลาย แต่ถ้าจะแยกสารที่มีกลิ่นออกจากขิงควรเลือกน้ำเป็นตัวทําละลาย – น้ำสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่าแอลกอฮอล์ถ้าใช้ตัวทําละลายที่ผสมน้ำและแอลกอฮอล์เข้าด้วยกัน สารที่สกัดที่ได้จะมีทั้งสีและกลิ่นรวมอยู่ด้วยกัน – น้ำเป็นตัวทําละลายที่ถูกนํามาใช้สกัดสารสีต่างๆ จากพืช เช่น สีเขียวจากใบเตย สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงจากกระเจี๊ยบ สีน้ำเงินจากอัญชัน เป็นต้น   สรุป การสกัดสารจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเลือกตัวทําละลายที่เหมาะสมเนื่องจากสารประกอบในพืชมีมากมายหลายชนิด และมีคุณสมบัติแตกต่างกันมาก การเลือกใช้ตัวทําละลายเดียวที่จะสกัดได้สารทุกกลุ่มที่ต้องการนั้นจึงทําได้ยาก ดังนั้นการเลือกตัวทําละลายที่ถูกต้องและเหมาะสมคือ ดูว่าสารสําคัญที่มีอยู่ในพืชที่เราจะสกัดสามารถละลายได้ในตัวทําละลายใด เราก็ใช้ตัวทําละลายนั้นมาใช้สกัด เพื่อผลลัพธ์และคุณภาพที่ดีที่สุดของเราค่ะ

สกัดสมุนไพรแต่ละครั้ง ต้องใช้เกณฑ์อะไรในการคัดเลือกวัตถุดิบ ?

การจะนำสมุนไพรมาสกัดในแต่ละครั้ง ทาง NAP ได้มีเกณฑ์ต่างๆ ในการคัดเลือกวัตถุดิบเพื่อคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้บริโภค ทีนี่เรามาดูกันว่าต้องมีเกณฑ์อะไรบ้าง 1. คุณลักษณะจําเพาะทางกายภาพของสมุนไพร ตรวจสอบโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยต้องใช้ความชำนาญและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบเบื้องต้น ที่จะบอกลักษณะของสมุนไพรอย่างหยาบๆได้ เช่น รูปร่างขนาด สี กลิ่นและรส 2. การตรวจสอบสิ่งปลอมปน คือสิ่งอื่นๆ ที่ปลอมปนมาจากพืชโดยที่เราไม่ได้ต้องการใช้ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย และสมมติว่าเราต้องการใช้แค่ใบ แต่มีกิ่งก้านปนมาด้วย อันนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งปลอมปนได้เหมือนกันนั้นเอง 3. ปริมาณความชื้น โดยทั่วไปสมุนไพรควรมีความชื้นไม่เกิน 10% สมุนไพรที่มีความชื้นมากเกินไป ตัวสมุนไพรจจะมีกลิ่นอับและทําให้เชื้อจุลินทรีย์เติบโตได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการสูญเสียสารสําคัญไปด้วย 4. ปริมาณสารสําคัญ การเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีและปริมาณสารออกฤทธิ์สูงมาตั้งแต่แรก เวลาสกัดเราก็จะได้ปริมาณสารสําคัญที่สูงตาม แต่ถ้าได้วัตถุดิบที่มีปริมาณสารสําคัญน้อย เมื่อนำมาสกัดยังไงก็จะได้สารออกฤทธิ์น้อยเช่นกัน 5. การตรวจสอบการปนเปื้อนของจุลินทีย์ ถ้าสมุนไพรปราศจากสิ่งปนเปิ้อนอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย ก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว และการปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดการสูญเสียสารสําคัญได้ง่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสําคัญเลยก็ว่าได้ที่ทําให้สมุนไพรมีคุณภาพต่ำ 6. การตรวจสอบสารตกค้างจากสารกําจัดศัตรูพืช การปนเปื้อนจากสารเหล่านี้อาจมาจากช่วงการปลูกพืชหรือระหว่างการเก็บเกี่ยวนั่นเอง โดยจะมีการกําหนดปริมาณสารตกค้างจากสารกําจัดศัตรูพืชตามเกณฑ์ไม่ให้เกินกว่าที่กําหนด เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้บริโภค 7. การตรวจสอบสารหนูและโลหะหนัก […]

ทานกระท่อมแบบนี้ สุขภาพเสียแน่นอน

ทานกระท่อมแบบนี้ สุขภาพเสียแน่นอน

ถึงแม้กระท่อมจะมีสารช่วยออกฤทธิ์ในการช่วยให้ร่างกายมีพละกำลัง ตื่นตัว ไม่เพลียก็จริง แต่เนื่องจากการบริโภคกระท่อมนั้นมีหลากหลายรูปแบบวิธี จึงทำให้มีผู้คนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการใช้กระท่อมนั่นเอง ซึ่งวันนี้เราจะมาดูวิธีป้องหรือข้อห้ามในการใช้กระท่อมกันค่ะ เคี้ยว หากจะเคี้ยวใบกระท่อมควรดึงก้านออกก่อน และไม่ควรเผลอกลืนกากใบหรือเศษลงไปในกระเพาะ เพราะอาจก่อนให้เกิดการตกค้าง หรือเป็นโรคถุงท่อมได้ ไม่ควรกินเกินวันละ 2-3 ใบ หากรับประทานหรือเคี้ยวใบมากกว่า 2-3 ใบขึ้นไป อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ เช่น จิตหลอน ใจหนาวสั่น วิตกกังวล เป็นต้น ต้มดื่ม วิธีนี้อาจดูเป็นวิธีเบสิคมากๆ แต่รู้หรือไม่ว่ามีผู้คนส่วนใหญ่ได้รับปัญหาจากวิธีการต้ม เพราะเกิดจากการใช้ผ้ากรองกากไม่มีความละเอียดมากพอในการกรองเศษ รวมไปถึงการใช้ใบต้นมากเกินอัตราส่วนของน้ำที่ต้ม จึงแนะนำให้ควรมีผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดปริมาณทุกครั้งขณะที่ต้ม หรือหากใครชอบดื่มน้ำท่อม อาจเปลี่ยนวิธีโดยการซื้อแบบสำเร็จรูปมาผสมดื่มแทน เพื่อความปลอดภัยจากโรคถุงท่อมและโอเวอร์โดส เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราควรทานกระท่อมกันอย่างระมัดระวัง และศึกษาทุกครั้งก่อนใช้นะคะ

ไขความลับสารสกัดขมิ้นชันของ NAP

ทำไม สารสกัดขมิ้นชัน ของ NAP ถึงได้รับความนิยมในท้องตลาดภาคอุตสาหกรรม นั่นก็เป็นเพราะเราใส่ใจคุณภาพตั้งแต่การคัดเลือกขมิ้นชันที่เป็นวัตถุดิบโดยมีเกณฑ์ต่างๆ ตามมาตรฐานของแน็พ ไบโอเทค พวกเราให้ความสำคัญทั้งในเรื่องกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน รวมไปถึงถุงบรรจุภัณฑ์ที่เราได้มีการดีไซน์ออกแบบเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะ จึงโดดเด่นและจดจำง่าย ที่สำคัญ NAP ยังมีเครื่องจักรที่ทันสมัยและครบครันที่สุดในแวดวงโรงงานสมุนไพร  จึงทำให้สารสกัดขมิ้นชันของ NAP นั้นไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ถ้าหากคุณกำลังมองหาสารสกัดสมุนไพรที่มีมาตรฐานและคุณภาพระดับต้น ๆ ของประเทศแล้วล่ะก็ สามารถติดต่อสอบถามได้เลย คลิก เราพร้อมเป็นเบื้องหลังในความสำเร็จของธุรกิจคุณ

อุณหภูมิส่งผลต่ออายุสารสกัดสมุนไพรหรือไม่

หลายคนมักสงสัยว่าอุณหภูมิมีผลต่ออายุของสารสกัดหรือไม่ คำตอบก็คือมีผลนั้นเอง เพราะเมื่อสารสกัดถูกจัดเก็บหรืออยู่ในสภาวะการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มามีอายุการเก็บรักษาหรืออายุการวางจำหน่ายที่สั้นลง และไม่ใช่แค่อุณหภูมิที่มีผลเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ร่วมด้วย ปัจจัยหลักๆ ที่มีผลต่อคุณภาพ และความคงตัวของสารสกัดนั้นคือ แสงแดด ความชื้น และอุณหภูมิ แสงแดด สารสำคัญในสารสกัดส่วนใหญ่เมื่อเจอแสงจะทำให้สารสำคัญนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความร้อน ส่งผลให้สารเสื่อมคุณภาพและมีปริมาณลดลงได้ ความชื้น ความชื้นจะทำให้สารสกัดเกิดเชื้อราและการเน่าเสียได้ ดังนั้นสเปคของตัวผลิตภัณฑ์เองในกระบวนการผลิตทาง QC ก็จะมีการกำหนดคุณภาพไว้ว่าความชื้นของสารสกัดไม่ควรเกิน 5% เพราะถ้าความชื้นสูงมากกว่านี้ก็มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่ผลิตภัณฑ์ล๊อตนั้นจะเสื่อมหรือเสีย อุณหภูมิ ปกติการเก็บสารสกัดในอุณหภูมิต่ำหรือเย็นจะยิ่งส่งผลดี เหมือนคำกล่าวที่ว่ายิ่งแห้ง ยิ่งเย็น ยิ่งดี ถึงแม้จะมีค่าใช่จ่ายที่สูงขึ้นแต่ต้องแลกกับคุณภาพของสารสกัดที่ดี และบางผลิตภัณฑ์ก็สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้ แต่ต้องมีอากาศถ่ายเทไม่ร้อน เนื่องจากถ้าอุณหูมิสูงก็จะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณสารสำคัญเราได้นั่นเอง

ยืดอายุสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรด้วยวิธีการสกัด

สมุนไพรที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน บางชนิดก็อาจมีอายุสั้น เนื่องจากโดนอากาศ ความชื้น และความร้อน ซึ่งปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเสื่อมของตัวสมุนไพรรวมไปถึงสารออกฤทธิ์ข้างใน บางคนจึงมีการนำสมุนไพรไปอบแห้งเพื่อยืดอายุ ก็อาจจะเป็นวิธีที่ช่วยได้ในระดับนึง แต่การนำไปอบแห้ง ใช่ว่าจะสามารถนำสมุนไพรทุกชนิดไปอบได้ อีกทั้งยังมีผลในเรื่องการเสื่อมสลายของสารออกฤทธิ์หรือสรรพคุณอีกด้วย วิธีที่ดีที่สุดในการยืดอายุและยืดสารออกฤทธิ์นั้นก็คือการทำไปสกัดในรูปแบบผง เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนี้นั้นมีเครื่องจักรที่เราสามารถกำหนดเลือกดึงสารแต่ละชนิดของตัวสมุนไพรออกมาได้ และมีขั้นตอนการทำสารสกัดที่ได้ออกมาไปเข้ากระบวนการทำรูปแบบนาโน ซึ่งจะเป็นการทำให้สารมีอนุภาคขนาดเล็กมากๆ เพื่อกักเก็บและคงสภาพของสารออกฤทธิ์สมุนไพรนั้นๆ วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่สามารถยืดอายุสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดนั่นเองค่ะ

COA เอกสารสำคัญสำหรับสารสกัดสมุนไพร

COA ย่อมาจาก Certificate of Analysis ก็คือใบรับรองผลการวิเคราะห์คุณภาพสินค้า ที่ผู้ผลิตตรวจสอบ ทดสอบ และรับรองให้กับผู้ซื้อ ตามล็อตการผลิตนั้น ๆ โดยสามารถนำมาการันตีความปลอดภัยของสารสกัดที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ว่าสิ่งที่เราเลือกนั้นมีคุณภาพ และผ่านมาตรฐานจริงๆ โดยใบวิเคราะห์ควรระบุสิ่งต่างๆเหล่านี้ Product Name – ชื่อสินค้า Batch Number or Lot No. – เลขที่ครั้งที่ผลิต เมื่อผู้ซื้อรับสินค้าต้องเช็คว่าสินค้านั้นมี Batch Number เดียวกับที่ระบุใน COA หรือไม่ Manufacturing Date – วันที่ผลิต Expiration Date – วันหมดอายุ Description – รายละเอียดสินค้า Test Method – กระบวนการทดสอบ Specification – คุณลักษณะของวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ Test Results – ผลที่ได้จากการทดสอบ […]

เครื่องสกัดสุดล้ำ ที่ทำให้ NAP ไม่เหมือนใคร

การจะมีสารสกัดสมุนไพรที่มีคุณภาพ ก็ต้องมีเครื่องสกัดสมุนไพรที่มีคุณภาพเช่นกัน แล้วเครื่องสกัดสมุนไพรของ NAP จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลย “เครื่องต้มสกัดด้วยน้ำขนาดใหญ่” (Extractor Tank) เป็นถังต้มสกัดสแตนเลส ขนาด 1500ลิตร จำนวน 2 ถัง เป็นการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลายใช้วิธีต้มและกวนด้วยความร้อน โดยให้น้ำร้อนทำการชะเอาสารสำคัญออกมาจากสมุนไพร ตัวเครื่องออกแบบให้เป็นการสกัดแบบไหล “เครื่องต้มสกัดแบบสูญญากาศ” (Vacuum Extractor) ใช้ในการสกัดสมุนไพร ด้วยตัวทำละลายแอลกอฮอล์ในระบบสุญญากาศ ขนาดถัง 500 ลิตร ซึ่งจะทำให้คุณภาพของสารสกัดยังคงอยู่ ไม่สูญสลายไปกับความร้อนและยังสามารถเก็บเอทธานอลกลับได้เพื่อนำมาใช้สกัดใหม่ได้อีกหลายครั้ง “เครื่องสกัดด้วยคลื่นอัลตราโซนิค” (Ultrasonic Extractor) เป็นการสกัดด้วยคลื่นความถี่สูงอัลตราโซนิค เพื่อไปกระทบกับผนังเซลส์ของสมุนไพรให้แตกออกซึ่งเป็นเทคนิคที่ไม่ใช้ความร้อนช่วยให้สารสกัดยังคงคุณภาพและไม่สูญเสียคุณภาพของสมุนไพรเป็นเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน “เครื่องสกัดด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Co2” (Supercritical Co2 EXtractor) เป็นการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรโดยใช้ก๊าซ carbon dioxide (CO2) ที่ความดันมากกว่า 300 เท่าของชั้นบรรยากาศ และ ที่อุณหภูมิเหมาะสม ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับการสกัดด้วยตัวทำละลาย การใช้อุณหภูมิที่ต่ำนั้นจะทำให้สารสำคัญ (Active Ingredients) ยังคงอยู่และไม่ถูกทำลายมีความใกล้เคียงกับสารที่มีอยู่ในธรรมชาติ […]

ทำไมสารสกัดชาเขียว..ถึงไม่มีสีเขียว ?

หลายคนเข้าใจว่า ชาเขียว ต้องมีสีเขียวสิ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “ชาเขียว” ซึ่งในความเป็นจริงชาเขียวไม่จำเป็นต้องมีสีเขียวเสมอไปเพราะชาก็มีสีอื่น ๆ ได้ เนื่องจากมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ต้นกำเนิดก็คือมาจากชาเขียวเหมือนกัน เพียงแตกต่างกันที่กระบวนการผลิต และเวลาในการเก็บเกี่ยว สารสีขียวที่อยู่ในใบชาเขียวคือสารคลอโรฟิล (chlorophyll) ที่ส่งผลให้เกิดสีเขียวขึ้นมาถ้าเราชงด้วยน้ำร้อน แต่ในกรณีสารสกัด สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ของชาเขียวไม่ใช่คลอโรฟิล แต่มันคือ apigalloca gallate และสารอื่น ๆ ที่เป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอล ถ้าเกิดการหมักหรือการสกัดจะทำให้คลอโรฟิล และโพลีฟีนอลในใบชาลดลง โดยเปลี่ยนแปลงจาก theaflavins และ thearubigins รวมถึงปริมาณ คาเทคชินกับเทนนินที่ต่างกันออกไปทำให้สารสกัดไม่มีสีเขียว ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด ๆ คือ ชามัทฉะ (Matcha) กับ โฮจิฉะ (Hojicha) ชามัทฉะ (Matcha) คือการนำใบชาที่แห้งมาบดผงให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด ซึ่งช่วยรักษาคุณภาพของใบชา และชาก็ยังคงมีสีเขียวอยู่  ในขณะที่ โฮจิฉะ (Hojicha) คือชาเขียวที่นำไปผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยการคั่ว ทำให้ใบชาสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล น้ำชาที่ได้จึงมีสีเดียวกันและมีกลิ่นหอมจากการคั่วที่ชัดเจนมากนั่นเองค่ะ