หลายคนเข้าใจว่า ชาเขียว ต้องมีสีเขียวสิ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “ชาเขียว” ซึ่งในความเป็นจริงชาเขียวไม่จำเป็นต้องมีสีเขียวเสมอไปเพราะชาก็มีสีอื่น ๆ ได้ เนื่องจากมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ต้นกำเนิดก็คือมาจากชาเขียวเหมือนกัน เพียงแตกต่างกันที่กระบวนการผลิต และเวลาในการเก็บเกี่ยว
สารสีขียวที่อยู่ในใบชาเขียวคือสารคลอโรฟิล (chlorophyll) ที่ส่งผลให้เกิดสีเขียวขึ้นมาถ้าเราชงด้วยน้ำร้อน
แต่ในกรณีสารสกัด สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ของชาเขียวไม่ใช่คลอโรฟิล แต่มันคือ apigalloca gallate และสารอื่น ๆ ที่เป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอล ถ้าเกิดการหมักหรือการสกัดจะทำให้คลอโรฟิล และโพลีฟีนอลในใบชาลดลง โดยเปลี่ยนแปลงจาก theaflavins และ thearubigins รวมถึงปริมาณ คาเทคชินกับเทนนินที่ต่างกันออกไปทำให้สารสกัดไม่มีสีเขียว
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด ๆ คือ ชามัทฉะ (Matcha) กับ โฮจิฉะ (Hojicha)
ชามัทฉะ (Matcha) คือการนำใบชาที่แห้งมาบดผงให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด ซึ่งช่วยรักษาคุณภาพของใบชา และชาก็ยังคงมีสีเขียวอยู่ ในขณะที่ โฮจิฉะ (Hojicha) คือชาเขียวที่นำไปผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยการคั่ว ทำให้ใบชาสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล น้ำชาที่ได้จึงมีสีเดียวกันและมีกลิ่นหอมจากการคั่วที่ชัดเจนมากนั่นเองค่ะ