อุณหภูมิส่งผลต่ออายุสารสกัดสมุนไพรหรือไม่

หลายคนมักสงสัยว่าอุณหภูมิมีผลต่ออายุของสารสกัดหรือไม่ คำตอบก็คือมีผลนั้นเอง เพราะเมื่อสารสกัดถูกจัดเก็บหรืออยู่ในสภาวะการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มามีอายุการเก็บรักษาหรืออายุการวางจำหน่ายที่สั้นลง และไม่ใช่แค่อุณหภูมิที่มีผลเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ร่วมด้วย ปัจจัยหลักๆ ที่มีผลต่อคุณภาพ และความคงตัวของสารสกัดนั้นคือ แสงแดด ความชื้น และอุณหภูมิ แสงแดด สารสำคัญในสารสกัดส่วนใหญ่เมื่อเจอแสงจะทำให้สารสำคัญนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความร้อน ส่งผลให้สารเสื่อมคุณภาพและมีปริมาณลดลงได้ ความชื้น ความชื้นจะทำให้สารสกัดเกิดเชื้อราและการเน่าเสียได้ ดังนั้นสเปคของตัวผลิตภัณฑ์เองในกระบวนการผลิตทาง QC ก็จะมีการกำหนดคุณภาพไว้ว่าความชื้นของสารสกัดไม่ควรเกิน 5% เพราะถ้าความชื้นสูงมากกว่านี้ก็มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่ผลิตภัณฑ์ล๊อตนั้นจะเสื่อมหรือเสีย อุณหภูมิ ปกติการเก็บสารสกัดในอุณหภูมิต่ำหรือเย็นจะยิ่งส่งผลดี เหมือนคำกล่าวที่ว่ายิ่งแห้ง ยิ่งเย็น ยิ่งดี ถึงแม้จะมีค่าใช่จ่ายที่สูงขึ้นแต่ต้องแลกกับคุณภาพของสารสกัดที่ดี และบางผลิตภัณฑ์ก็สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้ แต่ต้องมีอากาศถ่ายเทไม่ร้อน เนื่องจากถ้าอุณหูมิสูงก็จะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณสารสำคัญเราได้นั่นเอง

ยืดอายุสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรด้วยวิธีการสกัด

สมุนไพรที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน บางชนิดก็อาจมีอายุสั้น เนื่องจากโดนอากาศ ความชื้น และความร้อน ซึ่งปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเสื่อมของตัวสมุนไพรรวมไปถึงสารออกฤทธิ์ข้างใน บางคนจึงมีการนำสมุนไพรไปอบแห้งเพื่อยืดอายุ ก็อาจจะเป็นวิธีที่ช่วยได้ในระดับนึง แต่การนำไปอบแห้ง ใช่ว่าจะสามารถนำสมุนไพรทุกชนิดไปอบได้ อีกทั้งยังมีผลในเรื่องการเสื่อมสลายของสารออกฤทธิ์หรือสรรพคุณอีกด้วย วิธีที่ดีที่สุดในการยืดอายุและยืดสารออกฤทธิ์นั้นก็คือการทำไปสกัดในรูปแบบผง เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนี้นั้นมีเครื่องจักรที่เราสามารถกำหนดเลือกดึงสารแต่ละชนิดของตัวสมุนไพรออกมาได้ และมีขั้นตอนการทำสารสกัดที่ได้ออกมาไปเข้ากระบวนการทำรูปแบบนาโน ซึ่งจะเป็นการทำให้สารมีอนุภาคขนาดเล็กมากๆ เพื่อกักเก็บและคงสภาพของสารออกฤทธิ์สมุนไพรนั้นๆ วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่สามารถยืดอายุสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดนั่นเองค่ะ

เครื่องสกัดสุดล้ำ ที่ทำให้ NAP ไม่เหมือนใคร

การจะมีสารสกัดสมุนไพรที่มีคุณภาพ ก็ต้องมีเครื่องสกัดสมุนไพรที่มีคุณภาพเช่นกัน แล้วเครื่องสกัดสมุนไพรของ NAP จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลย “เครื่องต้มสกัดด้วยน้ำขนาดใหญ่” (Extractor Tank) เป็นถังต้มสกัดสแตนเลส ขนาด 1500ลิตร จำนวน 2 ถัง เป็นการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลายใช้วิธีต้มและกวนด้วยความร้อน โดยให้น้ำร้อนทำการชะเอาสารสำคัญออกมาจากสมุนไพร ตัวเครื่องออกแบบให้เป็นการสกัดแบบไหล “เครื่องต้มสกัดแบบสูญญากาศ” (Vacuum Extractor) ใช้ในการสกัดสมุนไพร ด้วยตัวทำละลายแอลกอฮอล์ในระบบสุญญากาศ ขนาดถัง 500 ลิตร ซึ่งจะทำให้คุณภาพของสารสกัดยังคงอยู่ ไม่สูญสลายไปกับความร้อนและยังสามารถเก็บเอทธานอลกลับได้เพื่อนำมาใช้สกัดใหม่ได้อีกหลายครั้ง “เครื่องสกัดด้วยคลื่นอัลตราโซนิค” (Ultrasonic Extractor) เป็นการสกัดด้วยคลื่นความถี่สูงอัลตราโซนิค เพื่อไปกระทบกับผนังเซลส์ของสมุนไพรให้แตกออกซึ่งเป็นเทคนิคที่ไม่ใช้ความร้อนช่วยให้สารสกัดยังคงคุณภาพและไม่สูญเสียคุณภาพของสมุนไพรเป็นเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน “เครื่องสกัดด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Co2” (Supercritical Co2 EXtractor) เป็นการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรโดยใช้ก๊าซ carbon dioxide (CO2) ที่ความดันมากกว่า 300 เท่าของชั้นบรรยากาศ และ ที่อุณหภูมิเหมาะสม ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับการสกัดด้วยตัวทำละลาย การใช้อุณหภูมิที่ต่ำนั้นจะทำให้สารสำคัญ (Active Ingredients) ยังคงอยู่และไม่ถูกทำลายมีความใกล้เคียงกับสารที่มีอยู่ในธรรมชาติ […]

ทำไมสารสกัดชาเขียว..ถึงไม่มีสีเขียว ?

หลายคนเข้าใจว่า ชาเขียว ต้องมีสีเขียวสิ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “ชาเขียว” ซึ่งในความเป็นจริงชาเขียวไม่จำเป็นต้องมีสีเขียวเสมอไปเพราะชาก็มีสีอื่น ๆ ได้ เนื่องจากมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ต้นกำเนิดก็คือมาจากชาเขียวเหมือนกัน เพียงแตกต่างกันที่กระบวนการผลิต และเวลาในการเก็บเกี่ยว สารสีขียวที่อยู่ในใบชาเขียวคือสารคลอโรฟิล (chlorophyll) ที่ส่งผลให้เกิดสีเขียวขึ้นมาถ้าเราชงด้วยน้ำร้อน แต่ในกรณีสารสกัด สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ของชาเขียวไม่ใช่คลอโรฟิล แต่มันคือ apigalloca gallate และสารอื่น ๆ ที่เป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอล ถ้าเกิดการหมักหรือการสกัดจะทำให้คลอโรฟิล และโพลีฟีนอลในใบชาลดลง โดยเปลี่ยนแปลงจาก theaflavins และ thearubigins รวมถึงปริมาณ คาเทคชินกับเทนนินที่ต่างกันออกไปทำให้สารสกัดไม่มีสีเขียว ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด ๆ คือ ชามัทฉะ (Matcha) กับ โฮจิฉะ (Hojicha) ชามัทฉะ (Matcha) คือการนำใบชาที่แห้งมาบดผงให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด ซึ่งช่วยรักษาคุณภาพของใบชา และชาก็ยังคงมีสีเขียวอยู่  ในขณะที่ โฮจิฉะ (Hojicha) คือชาเขียวที่นำไปผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยการคั่ว ทำให้ใบชาสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล น้ำชาที่ได้จึงมีสีเดียวกันและมีกลิ่นหอมจากการคั่วที่ชัดเจนมากนั่นเองค่ะ

สารสกัดนาโนเทคโนโลยีคืออะไร

นาโน หมายถึงอะไร นาโน หมายถึง ขนาดที่เล็ก เล็กมากๆ เล็กจนไม่สามารถบอกเห็นได้ด้วยตาเปล่า และ นาโนเทคโนโลยี หมายถึง เทคโนโลยีประยุกต์ที่เกี่ยวกับการผลิตหรือสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ในระดับอะตอมโมเลกุล ที่มีขนาดเล็กถึงระดับ 1 ถึง 100 นาโนเมตร ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีคุณสมบัติที่พิเศษขึ้น ทั้งในด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้สอย และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ มีบริษัทอาหารและเครื่องดื่มหลายๆบริษัทค่ะที่ทำสารสกัดขมิ้นนาโนออกมา แล้วทำไมเค้าถึงต้องทำเป็นขมิ้นนาโน แล้วทำไมถึงไม่ขายเป็นสารสกัดขมิ้นเลยล่ะ ? เพราะขมิ้นโดยธรรมชาติแล้วจะมีปัญหาเรื่องรสชาติและกลิ่นฉุน (ซึ่งเป็นปัญหาที่พบกันได้บ่อยมากจากสารสกัดธรรมชาติหลาย ๆ ชนิด) เมื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารและเครื่องดื่ม ก็จะทำให้รสชาติไม่ดีและมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงสารสำคัญในขมิ้นชันละลายน้ำได้ไม่ดี เสื่อมสลายได้ง่าย ทำให้เวลากินเข้าไปแล้วร่างกายจะดูดซึมได้น้อย เค้าจึงได้พัฒนาสารสกัดขมิ้นธรรมดา ๆ ให้เป็นขมิ้นนาโน ด้วยการทำออกมาในรูปแบบนาโนสเฟียร์  นาโนสเฟียร์ คืออะไร นาโนสเฟียร์ (Nanosphere) ก็คือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ของการกักเก็บสารสกัดในระดับนาโน เรียกว่า นาโนเอนแคปซูเลชั่น (Nanoencapsulation) ด้วยการนำสารสกัดที่ต้องการมาห่อหุ้มหรือบรรจุลงในแคปซูลนาโน ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยทำให้สารสำคัญที่มีอยู่ในขมิ้นมีความคงตัวมากขึ้น เมื่อกินเข้าไปทำให้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ที่สำคัญมีคุณสมบัติกลบกลิ่นและรสชาติของขมิ้นได้ เพิ่มความสามารถในการละลายน้ำได้ดี ไม่ตกตะกอน นำไปใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร […]

ล้วงลึก : กว่าจะเป็นสารสกัดกระท่อมแบบน้ำ

ผลิตภัณฑ์บางอย่าง กว่าจะออกมาเป็นแบบที่เราเห็นนั้น ต้องใช้เวลาในการคิดค้น และผ่านกรรมวิธีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนหลากหลายขั้นตอน โดยที่เราไม่เคยรู้มาก่อน อย่างสารสกัดกระท่อมแบบน้ำ ของ Natrax ซึ่งวันนี้ต้องขอบอกเลยค่ะว่าห้ามพลาด!! เพราะนี่คือขั้นตอนในการผลิตที่บุคคลคนภายนอกไม่ได้มีโอกาสเห็นกันง่ายๆ จะเป็นยังไง มีความพิเศษและพิถีพิทันขนาดไหน เชิญรับชมได้เลยค่ะ คัดสรรใบกระท่อมสดที่มีคุณภาพปลอดสารเคมี นำเข้าเครื่องต้มสกัดสมุนไพร นำเข้าเครื่องสกัดด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค ผ่านกระบวนการ Evaporation เพื่อทำให้สารสกัดเข้มข้น ทำให้สารสกัดมีอนุภาคเล็กลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ออกมาเป็นสารสกัดกระท่อมแบบน้ำ

ต้นกระท่อม หน้าตาเป็นยังไง?

ทุกวันนี้เราก็เห็นพ่อค้าแม่ค้า ขายใบกระท่อมกันตามท้องถนน ซึ่งเราก็มักจะเห็นใบกระท่อมที่มีสีเขียวเข้ม แต่เพื่อนๆ เคยสงสัยไหมว่า เจ้าต้นกระท่อมนั้นมีหน้าตาลักษณะอย่างไร ? ต้นกระท่อม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง สูง10 -15 เมตร มีลักษณะใบคล้ายใบกระดังงา กระท่อมมีชนิดก้านใบแดงและใบเขียว ดอกกลมโตขนาดเท่าผลพุทรา ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 8-14 ซม. ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม. เป็นยังไงกันบ้างคะ ต้นกระท่อมนั้นมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ แถมยังนำใบมาใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย ถ้าเพื่อนๆ ชอบสาระความรู้ดีๆ แบบนี้ อย่างลืมแชร์ให้คนรอบข้างด้วยนะคะ อ้างอิงจาก : https://bit.ly/3ljZdtM

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้..ในกระท่อม

ทำไมกระท่อมถึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน… เพราะกระท่อมนั้นเหมือนสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างมา ถึงแม้ที่ผ่านมากระท่อมเคยเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ปัจจุบันก็มีการแก้กฎหมายให้พืชกระท่อมเป็นพืชที่ถูกกฎหมายแล้ว ซึ่งถ้าเราศึกษาและเรียนรู้วิธีการใช้กระท่อมอย่างถูกต้องแล้ว เราจะเห็นถึงประโยชน์จากภายในของใบกระท่อมที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งทางด้านการแพทย์ เศรษฐกิจ และอื่นๆ อีกมากมายด้วยค่ะ ฉะนั้นแล้ว เรามาร่วมผลักดันกระท่อมไทยให้ก้าวไกลไปในทุกวงการกันนะคะ

สารไมทราไจนีนในกระท่อม ใช้ทำอะไรได้บ้าง

สารไมทราไจนีนในกระท่อม ใช้ทำอะไรได้บ้าง

นี่ๆ ถึงแม้กระท่อมจะเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันแล้ว แต่มีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักสาร “ไมทราไจนีน” ที่อยู่ในใบกระท่อมนะ พออ่านแล้วก็เริ่มสงสัยกันแล้วล่ะสิว่า เจ้าสารที่ชื่อว่า ไมทราไจนีนเนี่ย.. มันคืออะไร และใช้ทำอะไรได้บ้าง ? วันนี้ Nap เตรียมคำตอบมาให้แล้วค่ะ สารไมทราไจนีน ก็คือสารที่อยู่ในใบกระท่อมซึ่งเป็นสรรพคุณก็ว่าได้ ที่ผ่านมาผู้คนส่วนใหญ่ก็มักใช้เมื่อเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หรือเจ็บปวด ก็จะใช้ใบกระท่อมนี่แหละจัดการกับปัญหาเหล่านี้ สรุปสารไมทราไจนีน ถ้าถามว่าสารไมทราไจนีนใช้ทำอะไรได้บ้าง ส่วนใหญ่จะนำไปแปรรูปเข้าไปเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ลูกอม ครีมกันแดด ยาเวชภัณฑ์ เป็นต้น เพราะจะทำให้สินค้ามีมูลค่าและมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ

ถุงท่อม รู้ไว้ก่อนปลอดภัยกว่า

ถุงท่อม

ถุงท่อม หรือ ภาวะถุงท่อม ถือเป็นผลข้างเคียงอย่างหนึ่งจากการใช้ใบกระท่อม ซึ่งการรับประทานใบกระท่อมไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ใบ โดยรูดก้านใบออกแล้วเคี้ยวเหมือนการเคี้ยวหมาก และไม่ควรกลืนกากเพราะกากใบเป็นเส้นใยที่ย่อยยาก เมื่อรับประทานบ่อยๆ อาจทำให้เกิด “ถุงท่อม” ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ในท้อง เนื่องจากร่างกายของคนเราไม่สามารถย่อยก้านและใบกระท่อมได้ ถุงท่อม หากใช้มากเกินไปหรือไม่รูดก้านกระท่อมออกก่อน อาจทำให้มีกากหรือเศษกระท่อมตกค้างอยู่ในลำไส้ จนเกิดพังผืดหุ้มรอบเศษกระท่อมนั้น ก้อนพังผืดในลำไส้นี้เรียกว่า “ถุงท่อม” จะทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงได้ แม้ปัจจุบันกระท่อมจะไม่ใช่ยาเสพติด และมีการออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ทางยา แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปและติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกันนะคะ